โครงงาน

แบบเสนอโครงร่างโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์
๑.โครงงานเรื่อง  เว็บบล็อกเรื่อง  มหัศจรรย์โรตียาลอ
๒.ชื่อผู้เสนอโครงงาน
๒.๑ นางสาวยุราพันธุ์     พรหมเรือง        เลขที่ ๑๔  ม.๖/๕
๒.๒ นางสาวณัฐกฤตรา    มะสมัน           เลขที่ ๓๐  ม.๖/๕
๒.๓ นางสาวปานดา       สงวนประเสริฐ   เลขที่ ๓๕  ม.๖/๕
๓.ครูที่ปรึกษาโครงงาน
๓.๑ ครูเชษฐา    เถาวัลย์
๓.๒ ครูโสภิตา    สังฆะโณ
๔.หลักการและเหตุผล

          จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน คำว่า สตูล มาจากคำภาษามลายูว่า สโตย แปลว่ากระท้อนซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง นครสโตยมำบังสการา หมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา “พระสมุทรเทวา” จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัด
          คนส่วนใหญ่มักเข้าใจกันว่าโรตีต้องเป็นแผ่นกลมหรือเหลี่ยม ทอดกับน้ำมันและเนยแล้วโรยด้วยนมและน้ำตาล อาจใส่ไข่หรือใส่กล้วยด้วยก็ได้ ซึ่งต่างจากความหมายดั้งเดิมของต้นตำรับเดิม เนื่องจากคำว่าโรตีมีความหมายกว้างกว่านั้นมาก ซึ่งจะหมายความรวมถึงขนมปังประเภทอบ ปิ้ง ย่างทุกชนิด โรตีคือขนมปังในวัฒนธรรมของชาวฮินดู โดยเฉพาะโรตีดั้งเดิมที่เรียกว่า โรตีทันดูรี (Tandoori Roti) โรตียาลอที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จัก เป็นโรตีที่นิยมรับประทานในภาคใต้ตอนล่างของไทยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศมาเลเซียรับประทานกับนมหรือน้ำแกงทุเรียน แกงดาลจา แกงเปรี้ยวมัสหมัน กุรุหม่าแพะ กุรุหม่าเนื้อหรือไก่ แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน หรือจะเป็นของหวานก็ได้โรตียาลอเป็นโรตีที่อร่อยน่ารับประทานโรตียาลอเราสามารถโรยแป้งให้เป็นลวดลายแบบที่ต้องการก็ได้หรือรูปต่างๆที่คิดประยุกต์แบบขึ้นมาใหม่ โรตียาลอเป็นโรตีที่สามารถรับประทานได้ง่าย แต่ขั้นตอนในการทำโรตียาลอส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครสนใจหรือสืบทอดต่อกันมาจึงทำให้โรตียาลอเริ่มหายไปและทำให้รูจักโรตียาลอกันน้อยลง
          คณะผู้จัดทำโครงงาน“โรตียาลอ”เห็นว่า การใช้สื่อคอมพิวเตอร์โดยการสร้าง บล็อก (Blog)ขึ้นมาเพื่อนำเสนอและเผยแพร่การทำโรตียาลอในจังหวัดสตูลให้บุคคลทั่วไปหรือชาวต่างชาติได้รับรู้เกี่ยวกับการทำโรตียาลอมากขึ้นคณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำโรตียาลอในจังหวัดสตูลเพื่อคงไว้ให้ลูกหลานได้ชื่นชมวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวจังหวัดสตูลตลอดไป
๕. วัตถุประสงค์
     ๕.๑ เพื่อจัดทำเว็บบล็อกเรื่อง โรตียาลอ
     ๕.๒ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการทำโรตียาลอ
     ๕.๓ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของโรตียาลอ
     ๕.๔ เพื่อเผยแพร่
ให้บุคคลทั่วไปหรือชาวต่างชาติได้รับรู้เกี่ยวกับการทำโรตียาลอ
๖. สมมุติฐาน
          โรตียาลอเป็นโรตีที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศมาเลเซีย การเผยแพร่การทำโรตียาลอของจังหวัดสตูลมีความสำคัญและสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวอิสลามในจังหวัดสตูล
๗. ขอบเขตของการดำเนินงาน
     ๗.๑ ใน Blog จะมีเนื้อหา ประกอบด้วย วีดีโอ รูปภาพ และเนื้อหาในการทำโรตียาลอ     ๗.๒ แหล่งข้อมูล คือ อินเทอร์เน็ตและชุมชนบ้านเนินสูง
     ๗.๓ เวลาการดำเนินการ คือ ภาคเรียนที ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕
๘. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
     ๘.๑ สามารถใช้เว็บบล็อกเป็นสื่อในการอนุรักษ์โรตียาลอได้
     ๘.๒ สามารถรู้ขั้นตอนการทำโรตียาลอและสามารถทำโรตียาลอได้
     ๘.๓  สามารถเข้าใจและเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของโรตียาลอ
     ๘.๔ สามารถเผยแพร่
ให้บุคคลทั่วไปหรือชาวต่างชาติได้รับรู้เกี่ยวกับการทำโรตียาลอได้
 ๙.ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

การดำเนินงาน

วันที่/ระยะเวลาที่ดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

กำหนดหัวข้อโครงงาน

๒๐พฤศจิกายน ๕๕  -  ๒๕ พฤศจิกายน ๕๕

ยุราพันธุ์

เสนอโครงร่างโครงงาน

๖ ธันวาคม ๕๕  -   ๑๑ ธันวาคม  ๕๕

ณัฐกฤตรา

ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล

๑๕ ธันวาคม ๕๕  -  ๒๒ ธันวาคม ๕๕

ปานดา

วิเคราะห์ข้อมูล


๒๓ ธันวาคม ๕๕  -  ๓๑  ธันวาคม ๕๕

ยุราพันธุ์

ออกแบบเว็บไซต์

๑ มกราคม ๕๖  -  ๑๕ มกราคม ๕๖

ณัฐกฤตรา

พัฒนาเว็บไซต์

๑๖ มกราคม ๕๖  -  ๖ กุมภาพันธ์ ๕๖

ปานดา

ทดสอบและแก้ไขระบบ

๖ กุมภาพันธ์ ๕๖ –  ๘ กุมภาพันธ์ ๕๖

ยุราพันธุ์

นำเสนอโครงงาน

๑๐ กุมภาพันธ์ ๕๖  -  ๑๒ กุมภาพันธ์ ๕๖

ณัฐกฤตรา

ประเมินผลโครงงาน

๑๐ กุมภาพันธ์ ๕๖  -  ๑๒ กุมภาพันธ์ ๕๖

ปานดา


๑๐.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑๐.๑ ได้เผยแพร่ความที่มาของโรตียาลอ
๑๐.๒ ได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของโรตียาลอ
๑๐.๓ ส่งเสริมของดีเมืองสตูล
 

           ลงชื่อ                                                           ลงชื่อ
(........................................)                                (........................................)
     ผู้จัดทำโครงงาน                                                       ครูที่ปรึกษา                                

           ลงชื่อ                                                             ลงชื่อ
(........................................)                                (........................................)
     ผู้จัดทำโครงงาน                                                      ครูปรึกษา

     ผู้จัดทำโครงงาน

           ลงชื่อ
(........................................)
     ผู้จัดทำโครงงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น